วันจันทร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2554

นกพิราบแข่ง กลับมาถึงกรงได้อย่างไร? เขาแข่งนกพิราบกันอย่างไร

copy จาก ความคิดเห็นของผู้ที่ใช้ชื่อว่า bird ในบทความตามลิ้งค์นี้ครับ

ต้องขอขอบคุณ mamager.co.th และคุณ bird มาณ โอกาสนี้


นกพิราบแข่ง กลับมาถึงกรงได้อย่างไร? เขาแข่งนกพิราบกันอย่างไร
ขออธิบายคร่าวๆ ให้พอเข้าใจดังนี้
1.
เมื่อคุณต้องการจะเลี้ยงนกพิราบแข่ง ก่อนอื่นคุณต้องมีกรงนกพิราบ เมื่อมีกรงนกแล้ว คุณต้องติดต่อกับสมาคมนกพิราบแข่ง ซึ่งปัจจุบันมี 3 สมาคม จะติดต่อทั้งสามสมาคมเลยก็ได้ เมื่อทางสมาคมทราบว่าคุณร้องขอให้การแข่งนก จะมีเจ้าหน้าที่ของแต่ละสมาคม นำเครื่องวัดพิกัด GPS มาหาพิกัดจุดที่ตั้งของกรง
เนื่องจากแต่ละสมาคม จะมีจุดแข่งที่กำหนดไว้อยู่แล้ว คือสายเหนือ แข่งตั้งแต่ ชัยนาท ถึงแม่สาย สายตะวันออกเฉียงเหนือ แข่งตั้งแต่ อ.ปากช่อง ถึงบึงกาฬ และสายใต้ แข่งตั้งแต่ อ.ชะอำ ถึง อ.สุไหงโกลก ซึ่งจุดแข่งแต่ละจุด สมาคมก็มีการยิงพิกัดไว้แล้วเช่นกัน
เมื่อสมาคมได้พิกัดตำแหน่งกรงของคุณ แล้ว ก็จะใช้คอมพิวเตอร์ หาระยะทาง จากจุดแข่ง เป็นเส้นตรงมายังกรงของคุณ และจะวัดจุดแข่งทุกจุดมายังกรงนกของคุณ ซึ่งกรงแต่ละกรง ก็จะมีพิกัดไม่ตรงกัน ระยะทางที่วัดได้ก็ไม่เท่ากัน
2.
เมื่อได้พิกัดระยะทางการแข่งขันแล้ว คุณก็มีหน้าที่หานกพิราบพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ นำมาผสม เมื่อได้ลูกนกออกมา ประมาณ 4-5 วัน คุณต้องไปซื้อห่วงใส่ขาลูกนก ซึ่งในห่วงขา จะมี ขายโดยแต่ละสมาคม และมี ปี ค.. และหมายเลข ห่วงขานี้ถ้าเปรียบเทียบกับคน ก็เหมือนกับบัตรประจำตัวประชาชนนั่นเอง เพียงแต่ นกพิราบแข่ง เราทำบัตรประจำตัวประชาชนตั้งแต่ลูกนก เมื่อเราใส่ห่วงขาตั้งแต่ลูกนก เมื่อนกโตขึ้นประมาณ 2-3 สัปดาห์ ขานกและนิ้วนกจะโต และไม่สามารถถอดห่วงขาดังกล่าวออกได้ หรือเมื่อนกโตแล้ว ก็ไม่สามารถใส่ห่วงขาเข้าไปได้เช่นกัน เพื่อป้องกันการโกง นำนกที่ผ่านการบินแข่งมาแล้ว มาใส่ห่วงปีหลังๆ เหมือนเป็นนกใหม่
3.
เมื่อลูกนกอายุได้ประมาณ 28-30 วัน คุณต้องนำลูกนกออกมาฝึกให้จดจำกรงนก ซึ่งนักเลี้ยงนกเรียกว่า การโฮมลูกนก โดยฝึกให้ยืนบนแป้น (กรงนกต้องมีแป้น เป็นทางเข้าออกกรง) แป้นปัจจุบันใช้วัสดุจำพวกพลาสติก ที่สามารถมองใต้แป้นขึ้นไปบนแป้นแล้วเห็นเงาขา ของนก ( ซึ่งจะอธิบายให้ทราบอีกครั้ง) คุณต้องฝึกให้ลูกนกยืนหน้ากรง และฝึกใช้ไม้ต้อนให้เดินเข้ากรง การฝึกขณะเป็นลูกนกยังเล็ก จะเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะลูกนกยังบินไม่ได้ เมื่อคุณนำลูกนกมายืนหน้าแป้น ก็จะยังไม่บิน และฝึกหัดใช้ไม้ต้อนให้ลูกนกคุ้นเคยและไม่ตื่นตกใจ และเข้ากรงเป็น การฝึกให้ลูกนกเข้ากรงเป็น สำคัญมาก หากนกไม่ได้รับการฝึก เมื่อบินได้ อาจจะอยู่แถวกรง แต่เข้ากรงไม่เป็น นกก็จะหายได้
4.
หลังจากนำลูกนกมายืนหน้าแป้น ควรทำทุกวัน อาจจะตอนเช้าหรือตอนกลางวันก็ได้แล้วแต่สะดวก แต่บางกรงชอบตอนกลางวัน เราจะเอาลูกนกมายืนหน้าแป้นทุกวัน จนกระทั่งลูกนกมีความพร้อมก็จะเริ่มบินครั้งแรก ลูกนกจะบินรอบกรง 2-3 รอบ ก็จะลงที่หน้าแป้น เราก็ต้อนให้ลูกนกเข้ากรง พร้อมกับให้อาหาร เมื่อลูกนกเริ่มบิน เราก็ปล่อยทุกวัน ในที่สุดไม่กี่วัน ลูกนกก็จะบินแข็ง และเริ่มบินเที่ยว อาจจะนานเป็นชั่วโมง แล้วค่อยบินกลับมาที่กรง ก็ต้อนนกเข้ากรงให้อาหารแก่นก
5.
เมื่อใกล้จะถึงการแข่งขัน โดยทั่วไป เจ้าของนก จะมีการฝึกซ้อมนก ให้บินกลับกรง ในระยะทางใกล้ๆ เช่น 2-3 กม. และเมื่อเห็นว่านกบินกลับกรงได้ดี และไม่เสียเวลา ก็ค่อยๆ เพิ่มระยะทาง เป็น 5,10,20,40,80,100 กม. ตามลำดับ แต่ละช่วงอาจจะปล่อยซ้ำหลายครั้งเพื่อให้นกมีความชำนาญในการจดจำ เส้นทางในการกลับกรง การฝึกซ้อม ก็ต้องดูว่า เราจะแข่งนกเส้นทางไหน เช่นแข่ง สายเหนือ ตั้งแต่ชัยนาทเป็นต้นไป เช่นนี้เราก็ต้องฝึกนกไปทางตอนเหนือ เพื่อให้นกบินกลับกรงในระยะทางที่ตรงที่สุด นั่นคือเส้นทางที่สั้นที่สุด ถ้าฝึกไม่ดี นกอาจบินอ้อมไปอ้อมมา เส้นระยะทาง ทำให้ระยะทางมากขึ้น เวลาบินก็จะมากขึ้นไปด้วย

  1. หลังจากฝึกนกในการกลับกรงได้ดีแล้ว การจะแข่งนก ก็ต้องทำรายการจดหมายเลขห่วงขานกที่ใส่ไว้ตั้งแต่ลูกนก ไปยื่นเรื่องกับทางสมาคมที่เราจะแข่งขันด้วย ทางสมาคมก็จะให้เราซื้อ ชิป อันละ 100 บาท เพื่อนำมาใส่ขานกอีกข้าง และมีการบันทึกหมายเลขห่วงหานกใส่ไปในชิปอันดังกล่าว ตอนนี้นกติดชิปแล้ว แต่เราต้องมีอุปกรณ์ในการทำงานร่วมกับชิป อุปกรณ์ตัวนี้ เครื่องละประมาณ 2 หมื่นบาท ทุกกรงต้องมี ซึ่งทุกกรงจะเรียกว่า นาฬิกา ถ้าไม่มีสมาคมก็มีให้เช่า ประมาณ 1800 บาท ต่อสายในการแข่งขัน
    จากนั้น เมื่อถึงวันแข่งขัน เราต้องนำนกแข่งของเราไปส่งที่สมาคมนก ทางสมาคมก็จะรับนกของเรา พร้อมกับเก็บเงินค่าแข่งขัน ตัวละ 30-100 บาท แล้วแต่จุดแข่งว่าใกล้ ไกล แค่ไหน จากนั้น สมาคมจะมีนาฬิกาเครื่องแม่ แล้วเสียบเข้ากับนาฬิกาเครื่องของเรา แล้วนำนกที่จะแข่ง จับขานกข้างที่มีชิป ไปสแกนตั้งเวลากับนาฬิกาเครื่องแม่ แต่จะทำให้ นาฬิกาเครื่องของเรา สามารถทำงานกับชิปที่ติดขานกของเราได้ จากนั้น นกก็จะถูกส่งขึ้นรถแข่งของสมาคม ส่วนนาฬิกาของเราก็จะถอดสาย และคืนให้เรา เพื่อนำกลับไปรอที่กรง ซึ่งเจ้าของนกแต่ละกรงก็ต้องส่งนกด้วยวิธีนี้กันทุกคน นกแข่งทุกตัวจะอยู่ในรถคันเดียวกัน
    7.
    จากนั้นสมาคมก็ให้เจ้าหน้าที่ของสมาคม ขับรถนำนกพิราบแข่งทั้งหมดเดินทางไปยังจุดปล่อย ซึ่งนกจะต้องถูกปล่อยจากจุดแข่งที่สมาคมกำหนดพิกัดไว้แล้ว และปล่อยในเวลาเดียวกันพร้อมกัน เมื่อนกพิราบออกจากรถแล้ว ก็จะบินกลับกรง กรงใครกรงมัน เมื่อนกพิราบบินมาถึงกรงของเราก็จะลงที่แป้น เวลานั้นเจ้าของนกจะถือนาฬิกา ยืนรอที่ใต้แป้น และเมื่อเห็นเงาขานกที่ลงบนแป้น ก็จะยกนาฬิกา ไปชิดใต้แป้น ในตำแหน่งที่พบเงาขานก ชิปที่ติดขานกมา ก็จะทำงานบันทึกเวลาเข้ากับนาฬิกาที่ยกไปจี้ใต้ขานก ซึ่งนกจะมองไม่เห็นเราที่อยู่ใต้แป้น (ถ้านกมองเห็น อาจตกใจบินจากแป้น ทำให้บันทึกเวลาไม่ได้) นาฬิกาก็จะบันทึกว่า เป็นชิปของนกหมายเลขอะไร และบันทึกเวลาเท่าไร หากกรงนั้นมีนกหลายตัว ก็ทำเช่นนี้กับนกทุกตัว แต่บางครั้งอาจจะมีนกแข่งของกรงอื่นหลงบินมาลงที่แป้นของเรา นาฬิกาของเราไม่สามารถบันทึกเวลาได้ เพราะชิปของนกแข่งกรงอื่น ไม่ได้คีย์ข้อมูลไว้กับนาฬิกาเครื่องของกรงเรา เช่นเดียวกัน นกกรงเราไปลงกรงอื่น นาฬิกาของกรงอื่นก็ไม่บันทึกเช่นเดียวกัน
    8.
    จากนั้นเราก็นำนาฬิกาไปส่งที่สมาคม แต่ละกรงก็ไปส่งที่สมาคม กรงแต่ละกรงมีระยะทางจากจุดแข่งมาถึงกรงแต่ละกรงไม่เท่ากัน แต่เมื่อปล่อยจากจุดเดียวกัน และเวลาเดียวกัน วีธีการตัดสินว่านกจากกรงใดแพ้ชนะ ก็ใช้วิธี เอาระยะทางของแต่ละกรงเป็นตัวตั้ง เอาเวลาบินเป็นนาที เป็นตัวหาร ผลลัพธ์ เป็นความเร็ว นกกรงใดมีผลลัพธ์มากที่สุดเป็นผู้ชนะ และอันดับก็ลดหลั่นกันไปตามความเร็ว เช่น นกกรง A อยู่ประชาชื่น กรง B อยู่พระราม 2 ปล่อยจากชัยนาท ระยะทางจากจุดปล่อยมาถึงกรง A 100 กม. จากจุดปล่อยมากรง B ระยะทาง 120 กม. นกปล่อยพร้อมกันเวลา 06.00 . นกกรง A ตัวแรกบินถึงกรง เวลา 07.30 . แสดงว่าใช้เวลาบิน 90 นาที ความเร็ว คิดจากระยะทาง เป็นเมตร หารด้วยเวลาเป็นนาที ความเร็ว เท่ากับ 100000 หารด้วย 90 = 1111.11 เมตร/นาที
    ส่วนกรง B นกบินมาถึงกรง 07.40 นาที เท่ากับใช้เวลาบิน 100 นาที คิดความเร็วจะได้เท่ากับ 120000 หารด้วย 100 เท่ากับ 1200 เมตร/นาที
    เช่นนี้ นกกรง B จะชนะนกกรง A ซึ่งสมาคมต้องคิดเช่นนี้ทุกกรงที่ร่วมแข่งขัน นกตัวไหนมีความเร็วมากที่สุดก็ชนะไป
    จบครับ

การแข่งขันนกพิราบแข่ง เป็นกีฬาที่สนุกและเร้าใจมากที่สุด ยิ่งกว่าแข่งม้าหรือชนไก่ หากใครได้เลี้ยงนกพิราบแข่ง และวันแข่งขัน เมื่อเรารอนกพิราบแข่งบินกลับจากจุดปล่อยการแข่งขันนั้น ภาพที่นกพิราบบินมาสูงลิบ แล้วทิ้งตัวหุบปีก ดิ่งลงมาจากฟากฟ้า พุ่งตรงมายังกรงของนก ด้วยความเร็ว และกระพือปีกเพื่อเบรคและลงแตะแป้น นั้น เป็นภาพที่เจ้าของนกจะประทับใจไม่มีวันลืม ยิ่งคุณเป็นผู้ชนะการแข่งขันนก ด้วยแล้ว คุณจะปลื้มใจไม่หาย และหากมีนกแข่งจำนวนมากๆ หลายพันตัว คุณยิ่งภูมิใจ นกพิราบแข่งน่าเลี้ยงไม่น้อยกว่าสุนัข
การแข่งม้า เปรียบเสมือนกีฬาของพระราชา
การแข่งนกพิราบ เปรียบเสมือนกีฬาของพระราชินี
ควีนอลิซาเบซ ที่ 2 แห่งอังกฤษ ก็ทรงมีกรงนกพิราบแข่งอยู่ในพระราชวังบังกิงแฮม ทรงโปรดกีฬานกพิราบแข่งเป็นอย่างมาก
นก พิราบแข่งแสนรู้ ฉลาด อดทน รักกรง สามารถฝึกให้จดจำชื่อได้ เมื่อเราเรียก หรือผิวปาก นกก็จะบินมาเกาะไหล่ จิกหู เกาะหัว หรือเดินเข้ามาหา
ถามว่า นกพิราบแข่งเป็นพาหะนำโรคจริงหรือไม่
นัก เลี้ยงนกแข่งในโลกนี้ยังไม่มีข่าวว่าใครป่วยจากการเลี้ยงนกพิราบแข่ง นกพิราบแข่งมีเชื้อไวรัสจริงหรือไม่ นกพิราบแข่งทุกตัวจะมีการทำวัคซีน ป้องกันโรคต่างๆ การเลี้ยงดู การทำความสะอาดกรง การให้นกอาบน้ำทุก 2-3 วัน มีการชุบตัวฆ่าไร การให้ยาบำรุง และวิตามิน ตลอดจนการออกกำลังกายทุกวัน นกพิราบแข่งไม่เคยป่วยเป็นไข้หวัดนก ไข้หวัดนกที่ผ่านมาจะเกิดกับนกธรรมชาติ แม้แต่นกพิราบวัดที่ไม่มีใครดูแล ก็ยังไม่พบว่าป่วยเป็นไข้หวัดนกแต่อย่างไร
เลี้ยงนกพิราบแข่งปลอดภัย
หาก คุณมีลูก และชอบเที่ยว ติดเกมส์ หากมีหน้าที่เลี้ยงนกพิราบแข่ง และลูกคุณเกิดชอบ เขาจะไม่ไปไหน ไม่ติดเกมส์ แต่จะขยันดูแลนก แต่อย่าให้ดูแลนกมากไป จนไม่อ่านหนังสือ นี่แหละคือข้อเสียของการเลี้ยงนกพิราบแข่ง เพราะเกิดรักและหลงเสน่ห์มันแล้ว คุณยากที่จะถอนตัวที่จะไม่เลี้ยงนกเหล่านั้นได้
ถ้าใจไม่แข็งพอ อย่าลองเลี้ยงนกพิราบแข่งเป็นอันขาด มิฉะนั้น คุณจะไม่มีวันถอนตัวได้แน่นอน แม้คุณจะเลิกเลี้ยงได้บ้าง แต่ก็ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น ในที่สุดเมื่อคูณพร้อมและโอกาสอำนวย คุณต้องกลับมาเลี้ยงนกพิราบแข่งอีกแน่นอน
นกพิราบแข่งเป็นสุดยอดสัตว์นัก สู้ การบินบางครั้งมีอุปสรรค ผ่านสายไฟฟ้าแรงสูง อาจเฉี่ยว ขนาดกระเพาะรั่ว แต่เลือดนักสู้มันบินกลับกรง มาพบคุณ อย่างนี้คุณจะไม่รักเจ้านกพิราบแข่ง สัตว์แสนรู้นี้ได้อย่างไร เพียงแค่คุณได้สบตาเจ้านกพิราบแข่ง ครั้งเดียว คุณก็จะหลงเสน่ห์ของนกพิราบเหล่านั้นทันที
หากใครอ่านแล้วไม่เข้าใจหรือสงสัย สอบถามเข้ามาได้ครับ ยินดีตอบให้ทราบทุกคำถาม
bird

สำหรับกรณีตามข่าว เนื่องจากการแข่งนกแต่ละกรง อาจจะมีได้เปรียบเสียเปรียบ ก็เลยมีการทำกรงรวมขึ้นมา คือเลี้ยงนกในที่เดียวกันไปเลย ปล่อยจากที่เดียวกัน และเวลาเดียวกัน นกใครมาถึงกรงก่อนก็ชนะไป
ตามข่าว มีนกส่งมาจากสมาชิกทั้งในประเทศและต่างประเทศ การส่งนก สมาคมที่จัดการแข่งขัน เก็บเงินจากคนส่งนก ตัวละ 1500 บาท มีนกส่ง 3000 ตัว ก็ได้เงิน 4.5 ล้านบาท สมาคมมีหน้าทึ่เลี้ยง และฝึกซ้อมนกให้แก่เจ้าของนกทุกกรง และเลี้ยงเหมือนกันไม่มีลำเอียง (อันนี้ตามกฎ กติกา ของจริงจะมีลำเอียงหรือไม่ ไม่ทราบนะครับ) แต่เนื่องจากสมาชิกมีทั้งในและต่างประเทศ ความน่าเชื่อถือสำคัญ สมาคมคงจะเลี้ยงตามกฎของสมาคม ไม่มีลำเอียง
สำหรับเงินรางวัล 1.2 ล้านสำหรับตัวแรก และตัวอื่นๆ ก็มาจากเงินที่สมาชิกส่งนกเข้าร่วมการแข่งขันนั่นเอง เหมือนลงขัน และใครชนะก็เอาเงินไป โดยสมาคมจากเงินรางวัล และค่าใช้จ่ายอื่นๆ หมดแล้ว ก็คงเหลือกำไรส่วนหนึ่ง
สำหรับนกทุกตัวที่กลับมา เจ้าของนกจะรับคืนไปเลยไม่ได้ นกจะถูกนำออกประมูล เงินประมูลนกแต่ละตัว เจ้าของนกที่แท้จริงได้ 60% ส่วนสมาคมได้ 40% ส่วนนี้ก็เป็นรายได้เข้าสมาคมผู้จัดการแข่งขัน
การแข่งขันนกพิราบแข่ง บ้านเรา ยังไม่ใหญ่มากนัก เมื่อเทียบกับจีนหรือไต้หวัน เพราะอย่างไต้หวันแข่งขันครั้งหนึ่งอาจมีนกถึง 1 แสนตัว บ้านเราอย่างเก่งก็ 4 พันตัว เงินรางวัลของไต้หวัน ชนะตัวแรก อาจจะได้เป็นร้อยล้านบาท (ส่วนใหญ่เป็นเงินที่มีการพนันเพิ่มเติมเข้าไป) บ้านเรายังไม่ถึง
ประเทศ ที่มีชื่อเสียงในการเลี้ยงนกพิราบแข่งก็ประเทศเบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ นกเก่งๆ จากประเทศเหล่านี้ อาจถูกนักเลี้ยงนกจากจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น ซื้อไปบางตัวราคาสูงถึง 5 ล้านบาท หรือมากกว่านั้น นกพิราบแข่งราคาสูงมาก ไม่แพ้สุนัขแพงๆ บางตัว เป็นรองก็แต่ม้าแข่งเท่านั้นครับ
bird